7แนวทาง ทำบ้านน็อคดาวน์ให้อยู่สบาย
บ้านน็อคดาวน์, บ้านสำเร็จรูป

7แนวทาง ทำบ้านน็อคดาวน์ให้อยู่สบาย

7 แนวทาง ทำบ้านน็อคดาวน์ให้อยู่สบาย 

1.หันบ้านน็อคดาวน์ให้ถูกทาง ควรออกแบบตัวบ้านในทิศทางที่หลบเลี่ยงแสงแดด และมีความโปร่ง โล่ง สบาย รับลมได้มาก สำหรับประเทศไทย ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกในช่วงเช้าและส่วนใหญ่จะอ้อมทางใต้ไปยังทิศตะวันตกในช่วงบ่าย ทิศ

เหนือจึงโดนแดดน้อยที่สุด ดังนั้นการวางตำแหน่งของบ้านก็อาจใช้หลัก “การเปิดรับแสงจากทิศเหนือ” กับ “การกันแดดจากทิศตะวันตกและใต้”   ส่วนการสร้างบ้านให้ได้รับลมประจำควรมีช่องเปิดที่ผนังทั้งด้านทิศเหนือและใต้ แต่สำหรับพื้นที่ในเมืองอาจรับลมได้ทุกทิศ เนื่องจากมีอาคารสูงเยอะจึงทำให้ลมเปลี่ยนทิศทาง

2.สร้างร่มเงาให้บ้านน็อคดาวน์ อาจเป็นการทำชายคาให้ยื่นยาว ซึ่งเจ้าของบ้านน็อคดาวน์มีทางเลือกไม่มาก (ไม่ว่าจะเป็นระยะชายคา ทิศทางการรับแสงแดดและความร้อน) อาจใช้วิธีปลูกต้นไม้ ติดตั้งกันสาด  รวมถึงการติดตั้งแผงบังแดดให้เหมาะสมกับทิศทางต่างๆ เพื่อสร้างร่มเงาช่วยลดความร้อนแทนได้

3.มีช่องแสงต้องไม่ร้อน เมื่อเราต้องการแสงจากธรรมชาติแต่ไม่ต้องการรับความร้อนเข้าบ้านน็อคดาวน์ ช่องแสงของบ้านน็อคดาวน์จึงควรอยู่ในทิศที่โดนแดดน้อยที่สุด นั่นคือทิศเหนือ ควรเลี่ยงการทำช่องแสงทางทิศตะวันตก เนื่องจากเป็นทิศที่แดดร้อนจัดมากในช่วงบ่าย หากมีช่องแสงมากความร้อนจะถูกกักไว้ในบ้านบ้านน็อคดาวน์มากทำนองเดียวกับรถยนต์ที่จอดทิ้งไว้กลางแดด

4.พื้นที่ไม่ร้อนใช้บ่อย พื้นที่ใช้น้อยช่วยบังแดด พื้นที่ที่ใช้งานบ่อย เช่น ห้องนั่งเล่น  ห้องทำงาน ห้องนอน  ควรให้อยู่ในตำแหน่งที่โดนแดดน้อยที่สุดอย่างทิศเหนือ เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมมากนัก ส่วนบริเวณที่โดนแดดมากอย่างทิศตะวันตก ควรเป็นที่ตั้งของพื้นที่ที่ใช้งานน้อย เช่น ห้องน้ำ ห้องเก็บของ เป็นต้น

5.ลมเข้าบ้านต้องมีทางออก ลมจะทำให้เรารู้สึกเย็นสบายตัวมากขึ้นแม้อุณหภูมิในบ้านน็อคดาวน์จะเท่าเดิม ทั้งยังช่วยถ่ายเทอากาศและระบายความร้อนภายในบ้านน็อคดาวน์ออกไป ทั้งนี้ การออกแบบบ้านที่คำนึงเรื่องทิศทางลมนั้น นอกจากจะให้มีช่องเปิดเพื่อรับลมเข้าบ้านแล้ว ยังต้องมีช่องทางให้ลมออกจากบ้านได้ด้วย มิฉะนั้นลมจะไม่สามารถเข้าบ้านได้

รวมถึงในงานต่อเติมบ้าน ก็ควรคำนึงถึงรูปแบบและตำแหน่งของส่วนต่อเติมไม่ให้ขัดขวางทางลมออกด้วยเช่นกัน

6.เลือกใช้วัสดุให้บ้านน็อคดาวน์ไม่ร้อน วัสดุต่างๆ มีคุณสมบัติหน่วงและคายความร้อนต่างกัน อย่างคอนกรีตจะเป็นวัสดุที่หน่วงความร้อนไว้มากก่อนจะคายความร้อนออกมาในภายหลัง สังเกตได้จากพื้นภายนอกบ้านน็อคดาวน์ที่ตากแดดจนร้อนจัด เมื่อแดดร่มจนอากาศเย็นลง พื้นผิววัสดุต่างๆ เช่น พื้นดิน พื้นหญ้าเทียม พื้นไม้ ก็จะมีอุณหภูมิลดลงตาม ในขณะที่พื้นผิวคอนกรีตยังคงร้อนอยู่  ทำนองเดียวกับเวลาที่อากาศภายนอกร้อนจัด อากาศภายในบ้านที่สร้างด้วยวัสดุปูนและคอนกรีตจะยังคงเย็นอยู่ในช่วงแรก เนื่องจากความร้อนถูกหน่วงไว้ไม่ให้เข้ามาในบ้านน็อคดาวน์ แต่เมื่อผ่านไปสัก 2-3 ชม. ปูนและคอนกรีตจะเริ่มคายความร้อนทำให้ภายในบ้าน “ร้อนอบอ้าว” อย่างต่อเนื่อง แม้อุณหภูมินอกบ้านจะลดลงไปแล้วก็ตาม (ต่างกันกับกรณีบ้านไม้ ซึ่งอุณหภูมิภายในกับภายนอกบ้านค่อนข้างใกล้เคียงกันเสมอ)

7.เลือกฉนวนให้เหมาะกับบ้านน็อคดาวน์ อีกวิธีที่ช่วยป้องกันความร้อนเข้าบ้านน็อคดาวน์ได้คือ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนเหนือฝ้าเพดาน (เพื่อป้องกันความร้อนจากหลังคา) และที่ผนัง โดยฉนวนจะกันความร้อนได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญคือ ค่าการนำความร้อน หรือ “ค่า K” (ยิ่งต่ำยิ่งดี)  และค่าการป้องกันความร้อน หรือ“ค่า R” (ยิ่งสูง ยิ่งกันความร้อนได้มาก) ทั้งนี้ ในการเลือกซื้อฉนวนให้คุ้มค่า แนะนำให้พิจารณา ค่า R เทียบกับราคา

       อีกปัจจัยที่มีผลต่อเรื่องการกันความร้อนของฉนวน ก็คือความหนาฉนวน โดยหลักแล้ว ฉนวนยิ่งหนาจะยิ่งกันความร้อนได้มาก แต่ก็ไม่ควรเลือกฉนวนหนาจนเกินไป (เนื่องจากอัตราส่วนความหนาที่เพิ่มขึ้นเทียบกับประสิทธิภาพการกันความร้อนแล้ว อาจไม่คุ้มค่าเท่าที่ควร) โดยทั่วไปจะแนะนำที่ความหนาประมาณ 3 นิ้ว แต่หากเจ้าของบ้านต้องการติดตั้งฉนวนที่มีความหนาเพิ่มขึ้นจะสามารถพิจารณาเป็นกรณีตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การติดตั้งฉนวนให้กับบ้าน มีข้อคำนึงสำคัญอีกประการคือ จะต้องมีการระบายอากาศที่ดี มิฉะนั้นความร้อนที่เกิดขึ้นในบ้านน็อคดาวน์ อาจโดนฉนวนกักไว้จนไม่สามารถระบายออกไปได้ (เปรียบเสมือนกระติกน้ำร้อน)